เหล่าอัลลิเกเตอร์ซอมบี้จากผลพวงของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้มีอยู่หลายชนิด และล้วนต้องพึ่งพาอาศัยกัน สิ่งมีชีวิตบางอย่างเกื้อกูลกัน แต่บางอย่างกลับเป็นปรปักษ์ หลังจากเจอบทความที่น่าสนใจจาก Flagfrog เกี่ยวกับ “จระเข้ซอมบี้” หรืออัลลิเกเตอร์ที่มีพฤติกรรมแปลกประหลาดก็ทำให้สนใจเรื่องนี้จนมาสรุปให้ทุกคนได้รู้จักทะเลสาบกริฟฟิน สถานที่ที่ถือว่าเป็นภัยต่อเหล่าอัลลิเกเตอร์

พฤติกรรมสุดประหลาดของอัลลิเกเตอร์ที่ทะเลสาบกริฟฟิน
เหตุที่เรียกว่า “จระเข้ซอมบี้” เพราะคนไทยคุ้นหูจระเข้มากกว่าอัลลิเกเตอร์ แต่แท้จริงแล้วสิ่งที่อยู่ในทะเลสาบกริฟฟินคืออัลลิเกเตอร์ สัตว์เลื้อยคลานที่ตัวใหญ่และมีรูปหน้ายาวเป็นวงรี ไม่เหมือนจระเข้ที่ตัวเล็กกว่าและหน้าเป็นสามเหลี่ยม พฤติกรรมซอมบี้ของอัลลิเกเตอร์ที่นี่ คือ สมองจะตาย ไร้การตอบสนอง และมีพฤติกรรมผิดจากเดิม เช่น ไม่ว่ายน้ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง นอนหงายท้อง ไม่กินอาหาร มีพฤติกรรมคล้ายซอมบี้ที่ตายแล้ว แต่ยังคงเคลื่อนไหวได้บ้าง เรียกได้ว่าครึ่งเป็นครึ่งตาย ทำให้นักวิจัยพยายามหาสาเหตุการเปลี่ยนพฤติกรรมของอัลลิเกเตอร์ในแถบนี้ เพื่อหาแนวทางรักษาต่อไป
ผลการวิจัยสาเหตุของพฤติกรรม “ซอมบี้” ของอัลลิเกเตอร์
หลังจากศึกษาพฤติกรรมอันแปลกประหลาดของอัลลิเกเตอร์มากว่า 6 ปี นักวิจัยอย่าง เพอร์แรน โรสส์ นักชีววิทยาจาก Florida Museum of Natural History ก็ได้ข้อสรุปว่าสาเหตุของการกลายเป็นซอมบี้ของอัลลิเกเตอร์เหล่านี้มาจากสารพิษที่ชื่อว่า “ไซลินโดรสเปอร์โมซิส (Cylindrospermopsis)” ที่มาจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่จะปล่อยสารนี้ออกมาก่อนมันจะตาย ทำให้น้ำในทะเลสาบกริฟฟินอุดมไปด้วยสารพิษชนิดนี้ และมันส่งผลให้อัลลิเกเตอร์มีพฤติกรรมประหลาดอย่างที่เห็น
แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
เมื่อพบปัญหาแล้ว แน่นอนว่านักวิจัยย่อมต้องการให้เกิดการแก้ไข เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของอัลลิเกเตอร์ในแถบนี้ แต่แนวทางการแก้ไขก็ดูเป็นไปได้ยากทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น
- การเติมสาร “ไทอามีน” (Thiamine) หรือวิตามินบี 1 ซึ่งสารนี้จะพบได้ในปลาบางชนิด แต่เนื่องจากความเข้มข้นของสารโดรสเปอร์โมซิส ทำให้ปลาหลายชนิดก็ทยอยตายกันหมดเช่นกัน วิตามินบี 1 จึงแทบไม่หลงเหลือในพื้นที่นี้เลย
- กำจัดสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ซึ่งสาหร่ายชนิดนี้จะมองเห็นด้วยตาเปล่าไม่เห็น การจะกำจัดจึงต้องมีวิธีการที่รัดกุม แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการที่รองรับการกำจัดสาหร่ายชนิดนี้เลย
แนวทางการแก้ไขปัญหาสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจึงกลายเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง หรืออาจจะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติก็ดูเป็นเรื่องยากที่จะยอมรับให้เป็นไป
การที่อัลลิเกกตอร์มีพฤติกรรมซอมบี้เนื่องมาจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินนี้เป็นปัญหาที่นักอนุรักษ์และนักวิจัยพยายามหาทางออกอย่างแข็งขัน แม้จะดูไร้หนทางในตอนนี้ แต่ก็ยังมีผู้พยายามช่วยเหลืออัลลิเกเตอร์ในทะเลสาบกริฟฟินให้รอดตายและพ้นภาวะซอมบี้อยู่ ก็ต้องมาลุ้นกันต่อว่าจะสำเร็จหรือไม่?