วิกฤตหนักเมื่อทั่วโลกมีอัตราการเกิดต่ำ ซึ่งอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจหลัก

อัตราการเกิดในแต่ละประเทศมีตัวเลขที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง มีผู้วิจัยสัดส่วนการเกิดที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยภาพรวม และมีการแสดงความเป็นห่วงต่อกลุ่มประเทศที่อัตราการเกิดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด และไทยก็จัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราการเกิดค่อนข้างต่ำ และยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยที่ทำให้อัตราการเกิดต่ำ

ผู้หญิงในโลกยุคใหม่
ผู้หญิงในโลกยุคใหม่

สิ่งสำคัญที่ทำให้อัตราการเกิดต่ำลง เนื่องมาจากผู้หญิงไม่ได้มีเพียงบทบาทความเป็นแม่เพียงอย่างเดียว แต่มีบทบาทอื่น ๆ ทางสังคมและไม่ได้มองการมีลูกเป็นเป้าหมายสูงสุดในชีวิตอีกต่อไป ซึ่งแนวคิดเหล่านี้มาจากอิทธิพลของสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

  • การได้รับการศึกษา

การเข้าถึงการศึกษาของผู้หญิง ทำให้มุมมองในการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตต่างจากอดีตที่มองภาพความสำเร็จของผู้หญิงอยู่ในบ้าน แต่ปัจจุบันความสำเร็จของผู้หญิงเปิดกว้างกว่าเดิมมาก

  • การรู้วิธีคุมกำเนิด

การคุมกำเนิดเป็นวิธีการที่ช่วยชะลอการตั้งครรภ์ได้ เมื่อไม่พร้อมที่จะมีลูก ผู้หญิงหรือผู้ชายเองก็จะใช้วิธีการคุมกำเนิด ทำให้อัตราการเกิดของประชากรต่ำ

  • การมีสิทธิและเสรีภาพที่มากขึ้น

การที่ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้นในสังคม ทำให้ภาพจำของการเป็นแม่และเมียที่ดีเป็นเพียงทางเลือก ผู้หญิงจึงมุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จของตนเองมากกว่าการสร้างครอบครัว

  • การรณรงค์ให้มีลูกเมื่อพร้อม

แคมเปญรณรงค์หรือการสนับสนุนแนวคิดมีลูกเมื่อพร้อมทำให้ผู้หญิงหลายคนลังเลที่จะมีลูก ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจและเสถียรภาพต่าง ๆ ภายในประเทศ ทำให้การมีลูกกลายเป็นความเสี่ยงและอาจจะเป็นภาระจึงทำให้ผู้หญิงหลายคนชะลอการมีลูกออกไปก่อน

แนวโน้มอัตราการเกิดในประเทศไทย

อัตราการเกิด
อัตราการเกิด

ในช่วงปีที่ผ่านมา (2019) UN ได้ตีพิมพ์บทความที่แสดงให้เห็นถึงอัตราการเกิดที่ต่ำลงอย่างมากของประชากรในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยในช่วงปี 2000 นี้ประเทศไทยมีอัตราการเกิดของเด็กต่อผู้หญิง/คนอยู่ที่ 1.5 คน ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานที่อยู่ที่ 1.7 คน/ผู้หญิง 1 คน และหากต้องการให้ประเทศอยู่ในสัดส่วนที่พอดีควรจะมีตัวเลขอยู่ที่ 2.7 คน/ผู้หญิง 1 คน

นอกจากนั้นผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกายังระบุถึงการลดลงของอัตราเกิดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทยในอีก 80 ปีข้างหน้าจะมีประชากรลดลงถึง 51% โดยประชากรจากเดิม 71 ล้านคนจะเหลือเพียง 35 ล้านคนเท่านั้น

ผลกระทบจากการลดลงของประชากรที่คาดว่าหลายประเทศประสบปัญหานี้จะส่งผลต่อการเปลี่ยนขั้วทางเศรษฐกิจ ประเทศที่คาดว่าจะมีจำนวนประชากรมากที่สุดจะเป็นประเทศอินเดีย แต่ระบบเศรษฐกิจหลักจะอยู่ที่ไนจีเรีย ที่มีอัตราการเกิดของประชากรอยู่ในทิศทางที่ดี และมีการจัดการทรัพยากรที่ไม่น่าเป็นห่วง

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และยังมีอัตราการเกิดต่ำอีก ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วงมาก เพราะเด็กเกิดใหม่จะกลายเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ปัญหานี้จึงถือเป็นอีกปัญหาที่ต้องเร่งหาทางแก้ไข

ที่มา ไทยรัฐ และประชาชาติ 

By Zoe

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *