วัคซีนโควิด-19 ทำหน้าที่อย่างไร ?
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่คนทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ และถึงแม้ว่า ณ ช่วงเวลานี้ยังไม่ได้มีการผลิตยาที่สามารถต้านเชื้อไวรัสได้ แต่ตอนนี้ก็ได้มีการผลิตวัคซีนชนิดต่าง ๆ ออกมาเพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน
ซึ่งการใช้วัคซีนโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นจะต้องปฏิบัติตัวไปพร้อม ๆ กับการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ และการรักษาระยะห่างทางสังคม จึงจะช่วยให้วัคซีนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด และแน่นอนเลยว่าวัคซีนแต่ละชนิดยังไม่สามารถต้านเชื้อไวรัสได้แบบ 100% เพราะวัคซีนแต่ละตัวถูกผลิตขึ้นมาเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันการรับเชื้อในอนาคตเท่านั้น ในขณะนี้ทั่วโลกมีเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่

mRNA Vaccine
- เป็นการใช้รหัสพันธุกรรมบางส่วนของเชื้อไวรัส มาฉีดกระตุ้นเพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างโปรตีนขึ้นมาให้กลายเป็นภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสได้
Viral-Vector Vaccine
- เป็นการผลิตวัคซีนที่ตัดต่อทางพันธุกรรม โดยการใช้สารทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เข้าไปในสารพันธุกรรมในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดโรค เพื่อใช้ในการนำพาเข้าไปยังร่างกายของมนุษย์ ส่งผลให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมาได้
Protein-nanoparticle Vaccine
- เป็นวัคซีนที่มาจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อไวรัสร่วมกับส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัส
Inactivated Virus Vaccine
- เป็นการผลิตวัคซีนที่ใช้ไวรัสที่ถูกทำให้ตายแล้ว ด้วยสารเคมี หรือแสง UV เมื่อฉีดเข้ามาในร่างกายจึงสามารถทำให้ต้านเชื้อโควิด-19 ได้

ประเภทของวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองจาก WHO
- Pfizer-BioNTech : สหรัฐอเมริกา
- Moderna : สหรัฐอเมริกา
- Gamaleya : รัสเซีย
- AstraZeneca : สหราชอาณาจักร
- Vector Institute : รัสเซีย
- Sinovac : จีน
- Sinopharm : จีน
- Cansino Biologics : จีน
- Bharat Biotech / ICMR : อินเดีย
โดยวัคซีนแต่ละประเภทจะต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานด้านความปลอดภัย ก่อนที่จะนำมาฉีดให้กับประชาชน ในส่วนของประเทศไทยนั้นก็ยังไม่ได้รับการยืนยันที่แน่ชัดว่าแบบดีที่สุดสำหรับคนไทย และนอกจากนำเข้าของวัคซีนโดยภาครัฐแล้ว ยังมีนโยบายส่งเสริมให้ภาคเอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ได้ด้วยเช่นกัน โดยมีวัคซีนโรงพยาบาลเอกชนที่กำลังทยอยยื่นขอขึ้นทะเบียนทั้งหมด 4 แห่ง คือ โรงพยาบาลธนบุรี, โรงพยาบาลรามคำแหง, โรงพยาบาลกรุงเทพ (BDMS) และโรงพยาบาลเกษมราษฎร์

ปฏิบัติตัวอย่างไรหลังฉีดวัคซีนโควิด-19
ซึ่งหลายคนอาจเกิดข้อสงสัย ว่าเมื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะปลอดภัยและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ
- หลังเข้ารับวัคซีนแล้วควรอยู่เฝ้าสังเกตอาการที่สถานพยาบาลที่เข้ารับวัคซีนอย่างน้อย 30 นาที เผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินจะได้มีเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยได้ทันเวลา
- หากมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน ไข้ต่ำ ๆ หรือปวดศีรษะเล็กน้อยให้รับประทานยาพาราเซตามอล จากนั้นเฝ้าดูอาการ
- หากมีอาการที่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญและรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
- ไม่ใช้แขนข้างที่ฉีดวัคซีนยกของหนักอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
โควิด-19 ถือเป็นโรคร้ายใกล้ตัวที่สามารถเกิดกับตัวเราได้ทุกขณะ ดังนั้นทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง ตรวจโควิดที่บ้าน และหลีกเลี่ยงการเดินทางหากไม่มีความจำเป็น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของตัวและคนที่คุณรักนะคะ